แนะนำสถานที่ประสบภัย

แผนที่ของบริเวณที่สึนามิเข้าถึงในจังหวัดมิยากิ

※กระทรวงคมนาคม หน่วยข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์ได้จัดทำแผนที่ครอบคลุมพื้นที่ที่สึนามิเข้าถึงโดยมีอัตราส่วน100,000:1

เปลี่ยนจาก "บริเวณประสบภัย" เป็น "บริเวณฟื้นฟู"

①มินามิซังริคุ

ก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหว
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ปัจจุบัน

สถานการณ์การฟื้นฟูของเมืองมินามิซังริคุ

 สามปีหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวสึนามิ เราได้จัดการกับเศษซากปรักหักพังที่เคยกองอยู่ทั่วพื้นที่ และเริ่มดำเนินการสร้างตลิ่งกันน้ำ เพื่อให้สามารถเปิดเมืองได้ในเบื้องต้น ทางอ่าวชิสึกาวะ ซึ่งเป็นทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์นั้น ธุรกิจการเพาะเลี้ยง เช่น สาหร่าย หอยนางรม หอยเชลล์ เพรียงหัวหอม ปลาแซลมอน และชาวประมงที่อยู่ร่วมกับทะเลนั้นได้ค่อยๆ กลับมามีความคึกคักขึ้นอีกครั้ง ที่ย่านการค้ามินามิซังริคุซังซัง และย่านการค้าอิสะโตะมาเอะฟุคโคนั้น ได้วางขายสินค้าพื้นเมือง และที่ย่านร้านอาหารได้มี ข้าวหน้าคิระคิระ(คิระคิระดง) เป็นการเรียกรอยยิ้มให้แก่ผู้คน และเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่อแรงสนับสนุนจากทุกท่านจากทั่วโลก นับจากนี้ไป มินามิซังริคุนั้นจะขอให้มีแต่รอยยิ้มอันระยิบระยับให้มากขึ้นเรื่อยๆ

②อิชิโนมากิ

ก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหว
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ปัจจุบัน

สถานการณ์การฟื้นฟูของเมืองอิชิโนมากิ

 หลังจากผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิมาได้ 3 ปี ในที่สุดเศษซากที่กองใหญ่ราวกับภูเขาในตัวเมืองก็ได้รับการจัดการให้หมดไป สำหรับการฟื้นฟูนั้น เริ่มต้นด้วยการให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของชาวเมือง และยังมีเรื่องต่าง ๆ ทางด้านธุรกิจท่องเที่ยวนั้น มีข่าวดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ได้มีการเปิดให้บริการของ พิพิธภัณฑ์มังกะของอิชิโนโมริ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองมังกะอย่างอิชิโนมากิ และคิงคะด้ง (ข้าวหน้าคิงคะ) เมนูใหม่ที่ได้จากอาหารทะเล ซึ่งผลิตจากชายฝั่งคิงคะซัง สถานที่จับปลาใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก

 นอกจากนี้ ยังมีการให้ความสำคัญที่ย่านการค้าเพื่อการฟื้นฟู ซึ่งเป็นย่านรวบรวมร้านค้าที่ได้รับความเสียหายมาเปิดให้บริการ และการจัดระบบการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ

③มัทสึชิมะ

ก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหว
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ปัจจุบัน

และสถานการณ์การฟื้นฟูของเมืองมัทสึชิมะ

 เมืองมัทสึชิมะนั้น ถือว่าได้รับความเสียจากสึนามิน้อยมาก เมื่อเทียบกับเมืองริมชายฝั่งอื่น ๆ เพราะได้รับการปกป้องจากเกาะน้อยใหญ่รอบ ๆ อ่าวมัทสึชิมะ และยังโชคดีที่วิวทิวทัศน์ของเกาะน้อยใหญ่ที่มีชื่อเสียงของมัทสึชิมะนั้นยังคงงดงาม ไม่ต่างจากก่อนเหตุการณ์สึนามิ

 อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวที่มามัทสึชิมะนั้นมีจำนวนเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ และนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับก่อนเหตุการณ์สึนามิ เดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา มัทสึชิมะได้เข้าร่วมกับ "โครงการอ่าวสวยในโลก" ของ NGO ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองวาน (Vannes) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยเครือข่ายนี้ จะช่วยโฆษณามัทสึชิมะให้แก่ 31 ประเทศและพื้นที่ทั่วโลก รวมไปถึงเป็นการแสดงความขอบคุณในการช่วยเหลือจากทั้งในและต่างประเทศ และเราจะพยายามให้การบริการที่สร้างความประทับใจ และความสนุกสนานแก่ทุกคนให้ดีที่สุด

④สนามบินเซนได

ก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหว
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ปัจจุบัน

⑤วาตาริ

อาระฮามะ โทริโนอุมิ (ออนเซนวาตาริ โทริโนอุมิ) ก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ถ่ายภาพเมื่อ9 ก.ย. 2551
อาระฮามะ โทริโนอุมิ หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ถ่ายภาพเมื่อ 22 มี.ค. 2554
อาระฮามะ โทริโนอุมิ ปัจจุบัน ถ่ายภาพเมื่อ 10 ก.พ. 2555

สถานการณ์การฟื้นฟูของตำบลวาตาริ

 เขตพื้นที่อาระฮามะนั้น ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุการณ์สึนามิ เดือนเมษายน 2556 ที่ผ่านมา ได้มีจัดโปรแกรมทัวร์

 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยเป็นหลัก มีไกด์คอยให้คำแนะนำในการทัศนศึกษาอาระฮามะ ซึ่งยังเหลือร่องรอยของความเสียหายให้ศึกษา นอกจากนี้ ออนเซนวาตาริ โทริโนอุมิ ซึ่งปิดให้บริการเนื่องจากแผ่นดินไหว ก็จะเสร็จสิ้นการซ่อมแซมในเดือนมีนาคม 2557 นี้ (มีโครงการจะเปิดให้บริการอีกครั้งภายในปี 2557) และ เซ็นเตอร์การประมง (ซุยซังเซนเตอร์) ซึ่งจะเป็นสถานที่ให้ซื้อขายผลิตภัณฑ์ประมงของท้องถิ่นได้โดยตรง นั้นก็คาดหมายว่าจะเสร็จสิ้นการก่อสร้างภายในปี 2557 ทำให้เขตพื้นที่อาระฮามะนั้น จะค่อย ๆ กลับมามีความคึกคักเหมือนเดิมได้อีกครั้ง

Copyright © 2013 Miyagi Prefectural Government. All Rights Reserved.

ページ上部に戻る